วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

22 มิถุนายน 2555 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แยกออกได้ ดังนี้
วันนี้ อาจารย์เข้าสอนเวลา 10:30 นาที แต่นักศึกษาก็นั่งรออาจารย์อยู่ที่ห้องไม่ได้ไปไหนเพราะรู้ว่าถ้าอาจารย์มา สายอาจารย์คงจะติดธุระมาสอนไม่ได้ตามเวลา แต่อาจารย์มาสอนก็ดีใจ วันนี้อาจารย์ก็สอนถึงเรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็แยกย่อยเป็นหัวข้อว่าควรที่จะเรียนรู้เรื่องอะไรก่อนหรือหลัง   วันนี้ดิฉันได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ว่า พัฒนาการของเด็กปฐมวัยคืออะไร  พัฒนาการคือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนไปอย่างต่อเนื่อง
การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ก็ได้แยกเป็นหัวข้อต่อไปนี้
เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้อะไรบ้าง     

           พัฒนาการของเด็กปฐมวัย คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนไปอย่างต่อเนื่อง
พัฒนาการของเด็กจะเกี่ยวข้องกับสติปัญญาวันนี้อาจารย์ได้ใช้ ทฤษฎีทางสติปัญญาของ ยีนต์ เพียเจย์ 
ยีนต์ เพียเจต์ ได้กำหนด พัฒนาการของเด็กไว้เป็น 2 ช่วง คือ 1. เด็กแรกเกิด - 2 ปี   2. 2-6 ปี และ 2-6ปี จะแบ่งออกเป็น2ช่วง คือ ก่อนปฎิบัติการ อายุ 2-4 ปี  และ หลัง ปฎิบัติการ อายุ 4-6 ปี
           การเรียนรู้ที่ดีของเด็กปฐมวัย คือ การเล่น เพราะว่าการเล่นของเด็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเล่นและการเรียนรู้ต่างๆเพื่อที่จะให้ เด็กได้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
การจัดประสบการณ์  สิ่งที่ต้องรู้
    
         วิธีการจัดหรือหลักการจัด  เช่น การใช้วิธีการจัดประสบการณ์ของ วอลดอฟ มอนเตรเตอรี่ นิวโอฮิวแมนนีส  โปรเจคแอพโพสต์ เป็นต้น
          สื่อหรือสภาพแวดล้อมสนับสนุน  เช่น  นิทาน  เพลง   เป็นต้น
           การวัดประเมิน     จะเป็นการสังเกตจากตัวเด็กเช่น ดูเด็กจากการโต้ตอบคำถาม หรือ  ชิ้นงานผลงานของเด็ก
           เทคนิคจะเป็นเทคนิคในการสอนเด็ก  เช่น  การเล่านิทานให้เด็กฟัง   การร้องเพลง
ภาษา  คือ  การที่เด็กได้ มีพัฒนาการในด้าน  การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น